ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูก โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและคนที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละนานๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท เนื่องจากระหว่างใช้คอมพิวเตอร์จะมีการเกร็งและใช้งานบริเวณส่วนหลัง อาจจะมีการใช้อย่างไม่ถูกต้องและเคลื่อนไหวไม่เหมาะสม เมื่อทับถมเป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดกระดูกเสื่อม ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูก
นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท พร้อมทีมแพทย์ Mini Spine
โรงพยาบาลพญาไท 1 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทไว้ว่า
โรคนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โรคหมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าว
จากเอวลงไปที่ขา ขาชาและอ่อนแรงขาข้างใดข้างหนึ่ง และหมอนรองกระดูกส่วนคอกดทับเส้นประสาท จะปวดต้นคอร้าวไปที่สะบักข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจปวดถึงแขนหรือมือ มืออ่อนแรง
จับสิ่งของไม่ถนัด มือและแขนมีอาการชา
"หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง" นพ.ธีรศักดิ์ย้ำ
อย่างไรก็ตาม นพ.ธีรศักดิ์ระบุว่า โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาส
เป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลัง คือ
"การป้องกันไม่ให้เกิด"
"พยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ให้แนวกระดูกสันหลัง
อยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมากๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทิ้งท้าย
ป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนสายเกินแก้
โรงพยาบาลพญาไท 1 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทไว้ว่า
โรคนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โรคหมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าว
จากเอวลงไปที่ขา ขาชาและอ่อนแรงขาข้างใดข้างหนึ่ง และหมอนรองกระดูกส่วนคอกดทับเส้นประสาท จะปวดต้นคอร้าวไปที่สะบักข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจปวดถึงแขนหรือมือ มืออ่อนแรง
จับสิ่งของไม่ถนัด มือและแขนมีอาการชา
"หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง" นพ.ธีรศักดิ์ย้ำ
อย่างไรก็ตาม นพ.ธีรศักดิ์ระบุว่า โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาส
เป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลัง คือ
"การป้องกันไม่ให้เกิด"
"พยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ให้แนวกระดูกสันหลัง
อยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมากๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทิ้งท้าย
ป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนสายเกินแก้
ภาพจากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น