หลังจากที่ทุกท่านได้รับผลการตรวจร่างกายประจำปีแล้ว หลายท่านคงมีคำถามอยู่ในใจ
ว่าการตรวจแต่ละอย่าง ตรวจ เพื่ออะไร และการแปลผลมีความหมายอย่างไร จึงขออธิบาย
ให้ทราบพอสังเขปดังนี้
การตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นพื้นฐานการตรวจเบื้องต้น
เพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกร็ดเลือดในร่างกาย
ว่าการตรวจแต่ละอย่าง ตรวจ เพื่ออะไร และการแปลผลมีความหมายอย่างไร จึงขออธิบาย
ให้ทราบพอสังเขปดังนี้
การตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นพื้นฐานการตรวจเบื้องต้น
เพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกร็ดเลือดในร่างกาย
Hemoglobin (HGB) คือการวัดปริมาณ HGB ในเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินว่ามีภาวะ
ของโลหิตจาง (ซีด) หรือไม่
ของโลหิตจาง (ซีด) หรือไม่
ค่าปกติของ ผู้ชาย 14 - 18 g/dl
ค่าปกติของ ผู้หญิง 12 - 16 g/dl
ข้อสังเกต
1. การดื่มน้ำมากเกินไป อาจทำให้ค่า HGB ลดลง
2. HGB จะลดลงในภาวะตั้งครรภ์
3. HGB อาจสูงขึ้นในคนที่สูบบุหรี่จัด
Hematocrit (HCT) คือการวัดเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือด
ทั้งหมด ค่า HCT ที่วัดได้ ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 เท่าของค่า HGB
ค่าปกติของ ผู้ชาย 42 - 52 %
ค่าปกติของ ผู้หญิง 37 - 47 %
ข้อสังเกต
1. ในคนที่งดน้ำก่อนการตรวจเลือดเป็นเวลานาน อาจทำให้ค่า HCT เพิ่มขึ้นได้
2. ในคนที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ก็อาจมีค่า HCT สูงขึ้นได้
3. HCT จะสูงขึ้นในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือในคนที่สูบบุหรี่จัด
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน
ในคนที่พบค่าของเม็ดเลือดแดงต่ำ (โลหิตจาง) ซึ่งสาเหตุจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่ที่พบ
บ่อยอาจเกิดจากการขาด ธาตุเหล็ก เช่น การเสียเลือดจากการมีประจำเดือนในสตรีวัย
เจริญพันธุ์ เป็นริดสีดวงทวาร หรืออาจมีพยาธิ เป็นต้น จึงแนะนำให้เสริมธาตุเหล็ก
ในคนที่พบค่าของเม็ดเลือดแดงต่ำ (โลหิตจาง) ซึ่งสาเหตุจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่ที่พบ
บ่อยอาจเกิดจากการขาด ธาตุเหล็ก เช่น การเสียเลือดจากการมีประจำเดือนในสตรีวัย
เจริญพันธุ์ เป็นริดสีดวงทวาร หรืออาจมีพยาธิ เป็นต้น จึงแนะนำให้เสริมธาตุเหล็ก
1. โดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ ตับ เครื่องในสัตว์
ผักใบเขียว และไข่
2. โดยการรับประทานวิตามินที่มีธาตุเหล็กเสริม
3. ในบางกรณีอาจจะต้องทำการตรวจอุจจาระเพิ่มเติม
White Blood Cell Count ( WBC ) คือการนับจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดใน
1 cu.mm.หรือ mL ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จาก
เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส (แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยประวัติ อื่นๆ ประกอบด้วย) ค่าปกติ 4,800 -
10,800 /mL
Differential White Cell Count คือการหาเปอร์เซ็นต์ของ WBC แต่ละชนิด ซึ่งมีทั้งหมด
5 ชนิด คือ
1. Neutrophils (NEUT) ค่าปกติ 40 - 74 % : จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจำพวกแบคทีเรีย
2. Lymphocytes (LYMP) ค่าปกติ 19 - 48 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน หรือภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง
3. Monocytes (MONO) ค่าปกติ 3 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในผู้ที่อยู่ในระยะฟื้นจากการติดเชื้อทั่วไป
4. Eosinophils (EOS) ค่าปกติ 0 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีภูมิแพ้ (Allergy), ภาวะที่มีพยาธิในร่างกาย
5. Basophils : ค่าปกติ 0 - 2 %
Platelet Count (PLT) คือการนับจำนวนของเกร็ดเลือดต่อ mL ในเลือด (เกร็ดเลือดมีความจำเป็นที่ทำให้เลือดแข็งตัว) ถ้าต่ำกว่า 100,000/mL ถือว่าน้อยไปอาจทำให้เลือดหยุดยาก ตรงกันข้ามถ้ามากไป คือสูงกว่า 400,000/mL จะทำให้เลือด แข็งตัวได้ง่ายขึ้น และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด ค่าปกติ 130,000 - 400,000 cells /m
การตรวจทางเคมีของเลือด
1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose) คือการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยควรงดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 8 - 10 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ค่าปกติ 75 - 110 mg/dl ในกรณีที่มีค่า Glucose สูงกว่าค่าปกติ อาจจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้;
(ก) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 110 mg/dl แต่ไม่เกิน 140 mg/dl แสดงว่าอาจเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน
a.ข้อแนะนำ
i.ควรควบคุมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้ำอัดลม,น้ำตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำใย เป็นต้น
(ข) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 140 mg/dl แต่ไม่เกิน 200 mg/dl แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น
a.ข้อแนะนำ
1.ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้ำอัดลม, น้ำตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำใย เป็นต้น
2.ลดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง (เพราะจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล)
3.ลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่รับประทานอาหาร
4.รับประทานอาหารประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูงเช่น ผักประเภทต่างๆ เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฯลฯ
5.หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
6..ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7.เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดหาน้ำตาลซ้ำ
2.ลดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง (เพราะจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล)
3.ลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่รับประทานอาหาร
4.รับประทานอาหารประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูงเช่น ผักประเภทต่างๆ เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฯลฯ
5.หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
6..ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7.เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดหาน้ำตาลซ้ำ
(ค) ถ้าค่า Glucose สูงกว่า 200 mg/dl
a.ข้อแนะนำ
1.ปฏิบัติตามคำแนะนำในข้อ (ข)
2.ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
2.ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
2. การตรวจสภาพการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen and Creatinine)
2.1 Blood Urea Nitrogen (BUN) คือการหาสาร Urea Nitrogen ในเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ทั้งนี้เนื่องจาก ยูเรียเป็นผลิตผลสุดท้ายของการเผาผลาญโปรตีน ซึ่งจะถูกขับออกทางไต ค่าปกติ 8-16 mg/dl
BUN เพิ่มขึ้น พบได้ในกรณีที่มีการสังเคราะห์ยูเรียมากไป โดยอาจมาจากสาเหตุจาก
1. การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
2. มีการทำลายของโปรตีนในร่างกายมาก เช่น ภาวะไข้, ติดเชื้อ,ได้รับการผ่าตัดใหญ่
3. ระยะหลังของการตั้งครรภ์
4.มีภาวะขาดน้ำ เช่น ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
2. มีการทำลายของโปรตีนในร่างกายมาก เช่น ภาวะไข้, ติดเชื้อ,ได้รับการผ่าตัดใหญ่
3. ระยะหลังของการตั้งครรภ์
4.มีภาวะขาดน้ำ เช่น ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
2.2 Creatinine (Cr) คือการหาสาร Creatinine ในเลือดเพื่อประเมินสมรรถภาพของไต ค่าปกติ 0.6 – 1.3 mg/dl
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน ในกรณีที่มีค่า BUN และ Creatinine สูงกว่าปกติ
1.ควรลดอาหารที่มีรสเค็มจัด
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
3. ควรปรึกษาแพทย์
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
3. ควรปรึกษาแพทย์
2.3 ตรวจระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol) คือการหาค่า Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ได้ มาจากการรับประทานอาหารและร่างกายสร้างขึ้นเองบางส่วน Cholesterol เป็นสารสำคัญสำหรับร่างกายแต่ถ้ามีมาก เกินไป จะทำให้มีการพอกของไขมันในหลอดเลือด และอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ค่าปกติ 125 - 220 mg/dl (สำหรับบางร.พ. มาตรฐานอาจอยู่ที่ 200 mg/dl หรือ 250 mg/dl )
2.4 ตรวจระดับไขมันไทรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ได้จากการรับประทานอาหารและการ สร้างขึ้นเองในร่างกาย เมื่อถูกเผาผลาญจะให้พลังงานมาก ระดับ Triglyceride มักไม่ค่อยคงที่ สูงๆ ต่ำๆ ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับ ปริมาณอาหารที่รับประทาน ในกรณีที่สูงมากๆและเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้ ค่าปกติ 20 - 150 mg/dl
2.4 ตรวจระดับไขมันไทรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ได้จากการรับประทานอาหารและการ สร้างขึ้นเองในร่างกาย เมื่อถูกเผาผลาญจะให้พลังงานมาก ระดับ Triglyceride มักไม่ค่อยคงที่ สูงๆ ต่ำๆ ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับ ปริมาณอาหารที่รับประทาน ในกรณีที่สูงมากๆและเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้ ค่าปกติ 20 - 150 mg/dl
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดไขมันในเลือด
1. ควบคุมปริมาณอาหารประเภทไขมันสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ติดมัน เนย กะทิ เป็นต้น
2. เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันปริมาณมากๆ หรือถ้าจะใช้ก็ควรใช้น้ำมันจากพืช (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง )
3. เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฝรั่ง ส้ม ฯลฯ
4. งดหรือลดบุหรี่
5. งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันปริมาณมากๆ หรือถ้าจะใช้ก็ควรใช้น้ำมันจากพืช (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง )
3. เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฝรั่ง ส้ม ฯลฯ
4. งดหรือลดบุหรี่
5. งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.5 HDL-C โคเลสเตอรอลในร่างกาย แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ High Density Lipoprotein Cholesterol (HDLc) และ Low Density Lipoprotein Cholesterol (LDLc) งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า HDLc เป็นโคเลสเตอรอลประเภทที่มีผลดีต่อร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน ดังนั้นการมีค่า HDLc ที่สูงจึงเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นในการตรวจโคเลสเตอรอล หากพบว่ามีค่าสูงเกินมาตรฐาน ควรจะตรวจระดับของ HDLc ประกอบการแปลผลด้วย ค่าปกติ 35-65 mg/dl
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อให้มีระดับ HDLc ที่สูงเหมือนกับการปฏิบัติตนในหัวข้อการลดไขมันในเลือดข้างต้น
2.6 ตรวจระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid) คือ การตรวจหายูริคซึ่งเป็นของเสียที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญ สารพิวรีน (purine) ซึ่งมีมากในเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล ยอดอ่อนของผัก เช่น หน่อไม้ เห็ด แตงกวา ถั่วเกือบทุกชนิด และเกิดจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย กรดยูริคที่มีอยู่ในเลือดจะถูกขับออกทางไต ในกรณีที่มี ยูริคมากเกินไป จะทำให้ตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้ ค่าปกติ 2.2 – 8.1 mg/dl
ข้อควรปฏิบัติ
1.งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล ยอดอ่อนของผัก (เช่น หน่อไม้ ชะอม ยอดผักโขม เป็นต้น ) เห็ด แตงกวา ถั่วทุกชนิด
2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกผลึกของกรดยูริค
2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกผลึกของกรดยูริค
3. การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ (SGOT and SGPT)
3.1 Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SGOT) คือ enzyme ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อของหัวใจ ตับ กล้ามเนื้อไต สมอง ตับอ่อน ม้าม และปอด หากเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้รับอันตราย SGOT ในเลือดจะสูงขึ้น และจะเพิ่มทันทีใน 12 ชั่วโมง แล้วค่อยๆต่ำลงเนื่องจากถูกเผาผลาญไป ค่าปกติ 0 - 37 U/L
3.2 Serum Glutamic Pyruvic Transaminase (SGPT) คือ enzyme ที่พบในตับ หัวใจ กล้ามเนื้อ และไต ใช้ในการหาอาการของตับอักเสบ และบอกได้เฉพาะเจาะจงกว่า SGOT ค่าปกติ 0 - 4 0 U/L
การตรวจหา enzyme SGOT, SGPT เป็นการตรวจเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ มักจะพบว่าสูง ในคนที่ดื่มสุรามาเป็นเวลานาน หรือแม้แต่การดื่มเป็นบางโอกาสแต่ปริมาณมาก ก็อาจสูงได้ ในกรณีไม่ดื่มสุรา อาจจะเกิดได้จาก
1. เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบ B
2. การรับประทานยาบางอย่างที่มีผลต่อตับ
3. ถูกผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีบางอย่างโดยสม่ำเสมอ (เช่นการฉีดยาฆ่ายุงโดยที่ไม่มีการป้องกันตัวเอง)
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. ในผู้ที่ดื่มสุรา ควรงดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดโดยเด็ดขาดแม้แต่การดื่มในบางโอกาส
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี หากจำเป็นก็ควรมีการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
4. ลดปริมาณอาหารประเภทไขมัน (เพื่อลดการทำงานของตับในระยะที่ตับอักเสบ)
5. ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
2. การรับประทานยาบางอย่างที่มีผลต่อตับ
3. ถูกผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีบางอย่างโดยสม่ำเสมอ (เช่นการฉีดยาฆ่ายุงโดยที่ไม่มีการป้องกันตัวเอง)
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. ในผู้ที่ดื่มสุรา ควรงดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดโดยเด็ดขาดแม้แต่การดื่มในบางโอกาส
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี หากจำเป็นก็ควรมีการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
4. ลดปริมาณอาหารประเภทไขมัน (เพื่อลดการทำงานของตับในระยะที่ตับอักเสบ)
5. ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ภาพจากอินเทอร์เน็ต และข้อมูลจาก http://schleng.spaces.live.com และ http://www.healththai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น