วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พืชผักที่มีฤทธิ์เย็น

พืชผักอะไรที่มีฤทธิ์หนาวเย็นบ้าง จะได้เลือกให้ถูกกับร่างกายและโรคประจำตัวของตัวเองหรือคนในครอบครัว พืชผักที่มีฤทธิ์หนาว มีหลายอย่างเช่น ผักบุ้ง รากบัว มะเขือ ถั่วงอก ผักกาดขาว ผักกูด หน่อไม้ มะระ แห้ว ลุ้ย ยอดมะระแม้ว -ขึ้นฉ่าย หางหงส์ เป็นต้น 
ผักที่มีฤทธิ์เย็น


ผักที่มีฤทธิ์เย็น


























มาดูรายละเอียดในผักบางชนิดที่น่าสนใจ

ผักกาดขาว


หมายถึงผักกาดขาวต้นเล็ก ที่เวลาแม่ค้าเอามาขายในตลาดจะยังมีรากติดอยู่กับต้น ต้นจะมีขนาดเล็ก ช้ำและเน่าง่าย ผักกาดขาวชนิดนี้มีเบต้าแคโรทีน มีสารต้านมะเร็ง จึงมีฤทธิ์ช่วยต้านมะเร็งเต้านม ด้วยเหตุที่มีฤทธิ์หนาว จึงเป็นผักที่ช่วยดับร้อนถอนพิษ ขับพิษ ระบายปัสสาวะ เหมาะสำหรับกินแก้ร้อนใน และปรุงอาหารในหน้าร้อน มีวิตามิน ซี มาก ความที่มี วิตามินซีมาก จึงเหมาะกับผู้ที่เหงือกบวมอักเสบ ปวดฟัน รวมทั้งมี เลือดออกตามไรฟัน เหมาะสำหรับช่วยบำรุงกระดูกและช่วยให้ฟันแข็งแรง ช่วยให้ระบบย่อยทำงานดี ผักกาดขาวมีรสหวาน ฤทธิ์หนาว มีโปรตีน วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน เป็นต้น

                      มีรายงานว่าผักกาดขาวชนิดนี้มีแคลเซี่ยมมากกว่าลุ้ย 4 เท่า วิตามินซีมากกว่า 3 เท่า มีเบต้าแคโรทีนมากกว่า74 เท่า จึงมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กที่กำลังเจริญวัย กระดูกกำลังต้องการแคลเซียมที่น่าทึ่ง และต้องเป็นที่ชื่นชอบของคุณผู้หญิงทั้งหลายก็คือ ช่วยเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความขาวหรือความเนียนใสของใบหน้าและผิวพรรณ โดยการนำผักกาดขาวชนิดนี้มาปั่นร่วมกับผักอื่นๆ แล้วนำมาดื่มได้

                      ในบ้านเราชอบกินผักสดเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก ภาคกลางจะมีน้ำพริกขึ้นชื่อนานาชนิดโดยเฉพาะน้ำพริกกะปิ โดยมีผักสดนานาชนิดเป็เครื่องเคียง ภาคใต้มีผักเป็นเครื่องเคียงแทบทุกเมนู ภาคอีสานน้ำพริกปลาร้า จะมีผักต่างๆ โดยเฉพาะผักกาดขาวต้นเล็กนี้เป็นเครื่องเคียง ภาคเหนือก็มีผักเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกอ่องนานาชนิดเช่นกันรับประทานสดๆ เ

นื่องจากผักกาดขาวเป็นผักที่ค่อนข้างอ่อนนุ่ม สุกเร็ว เวลาจะผัดจึงต้องไฟแรงและผัดอย่างรวดเร็ว ส่วนแกง ไม่ว่าจะเป็นแกงจืด หรือแกงส้ม หรือจะแกงจึงต้อง ต้องใส่หลังสุด ใส่ตอนที่น้ำแกงเดือดจัดพอผักยุบก็ยกลงได้เลย จึงจะไม่สูญเสียวิตามินและคุณค่าทางอาหารไป
                                             

                      แต่แม้ว่าจะดีและมีประโยชน์มากแค่ไหนก็ไม่ใช่เหมาะกับทุกคน ต้องกินตามสภาพของร่างกายของแต่ละคน ผู้ที่กระเพาะลำไส้อ่อนแอ ท้องร่วงง่าย ถ่ายเหลว ท้องอืด อาหารไม่ค่อยย่อย ไม่ควรกินดิบ หรือถ้าสุกก็น่าจะร่วมกับเมนูที่มีฤทธิ์ร้อนร่วมด้วย สตรีชอบปวดประจำเดือนเป็นประจำ ท้องน้อยหนาวเย็น ควรรับประทานอย่างระมัดระวัง ผู้ที่กลัวหนาว มือเท้าเย็น ควรกินอย่างระมัดระวัง


                      ถ้ากินผักกาดขาวเล็กนี้แล้วมีอาการท้องอืด หรือถ่ายเหลวให้กินน้ำขิง ช่วยอบอุ่นกระเพาะลำไส้ ก็จะดีขึ้น

หน่อไม้ (Bamboo shoot)


                    บ้านเรามีป่ามีเขามาก ป่าไผ่มีอยู่ในแต่ละภาคทั้งเหนือ กลาง ใต้ อีสาน ทั้งผ่าไผ่ยังมีหลายชนิดให้เลือก เมื่อมีป่าไผ่ย่อมต้องมีหน่อไม้ให้เลือกกินได้หลายอย่าง จนกินในหน้าฝนไม่ทัน ต้องนำมาทำหน่อไม้ดอง หน่อไม้ปี๊บ ไว้กินในยามที่หมดหน้าหน่อไม้แล้ว เช่น ไผ่หวาน ไผ่ตง ไผ่บ้าน ไผ่ป่า ไผ่ลวก เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในภาคต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน วิธีปรุงอาหารด้วยหน่อไม้ในแต่ละภาคก็มีแตกต่างกันไป
หน่อไม้มีรสหวาน ฤทธิ์หนาว


                    หน่อไม้เกิดจากใต้ดิน อยู่ในป่าค่อนข้างสมบูรณ์ จึงปนเปื้อนจากสารพิษจากยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยเคมีในดินและอากาศน้อยกว่าผักชนิดอื่นๆ จึงเป็นพืชผักที่ค่อนข้างปลอดภัย เป็นผักที่ให้พลังงานน้อย แต่ มีกากใยเยอะจึงสามารถช่วยเรื่องขับถ่ายได้ดี ช่วยขจัดไขมัน ป้องกันมะเร็งลำไส้ ลดคลอเรสเตอรอล ลดความอ้วนได้ดี

                    หน่อไม้นอกจากมีกากใยแล้วยังมีโปรตีน วิตามิน บี1 บี 2 มีเหล็ก ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม เป็นต้น
                    แต่หน่อไม้จะไม่กินดิบ ต้องปอกเปลือก ตัดยอดแหลมๆ ทิ้ง ฝานเนื้อหน่อไม้บางๆ ต้มให้สุก เทน้ำขมฝาดออกให้หมด จนเรียกว่าจืด จะได้ลดพิษหน่อไม้ลง จากนั้นคนอีสานจะนำมาใส่กับน้ำย่านาง ทำให้หน่อไม้นุ่มนิ่มน่ากิน สำหรับทำแกงเปอะ ซุบหน่อไม้ ห่อหมกหน่อไม้ เป็นต้น ส่วนภาคกลางจะหั่นเป็นท่อน นำมาแกงป่า แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน กินกับน้ำพริกกะปิ ปลาร้า ส่วนปักษ์ใต้ก็นำมาใส่แกงไตปลาแสนอร่อย เป็นเครื่องเคียงในสำรับกับข้าว เป็นต้น

                    บ้านเราเป็นเมืองร้อน หน่อไม้จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนและคนที่ร่างกายร้อนในง่าย
หน่อไม้มีข้อดี

                    1)ไขมันน้อย น้ำตาลน้อย แต่กากใยมาก ทั้งยังดูดน้ำมันดี ดังนั้น คนที่ไขมันมาก อ้วน ถ้ากินหน่อไม้บ่อยจะช่วยย่อยไขมันได้ดี ลดไขพันพอกในลำไส้ได้ดี จึงเหมาะกับการลดความอ้วน ทั้งยังลดความเสี่ยงในเรื่องไขมันในเลือดสูง
                    2)เนื่องจากมีกากใยมาก จึงช่วยการบีบรูดของลำไส้ ช่วยย่อย ป้องกันท้องผูก ป้องกันเนื้องอกในลำไส้ด้วย
                    3)ในแพทย์แผนจีน เห็นว่าหน่อไม้มีรสหวาน ฤทธิ์หนาว ช่วยบำรุงยิน เย็นเลือด ดับร้อนละลายเสมหะ ดับกระหายคลายหงุดหงิด ระบายปัสสาวะอุจจาระ บำรุงตับ บำรุงสายตา

แต่มีข้อห้ามในการกินหน่อไม้ ดังนี้

                    1)ผู้ที่กระเพาะลำไส้ทำงานไม่ดี ย่อยไม่ดี ไม่ควรกิน เพราะย่อยยาก ยิ่งผู้ที่กระเพาะลำไส้เย็นยิ่งไม่ควรกิน เพราะหน่อไม้มีฤทธิ์หนาว จะทำให้ยิ่งท้องอืด ย่อยยากมากยิ่งขึ้น
-ในหน่อไม้มีเพียวรินมาก คนที่เป็นโรคเก๊าต์จึงไม่ควรกิน
-เนื่องจากมีสารบางตัวที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ดังนั้นเด็กที่กำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโตจึงไม่ควรกินหน่อไม้ ไม่ควรกินหน่อไม้ดิบ ต้องผ่านการต้มให้สุกก่อน
-ผู้ที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะไม่ควรกินหน่อไม้
-บางคนแพ้หน่อไม้ ก็ไม่ควรกิน

ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/และภาพจาก อินเทอร์เน็ต

ข้อห้ามสำหรับการกินพืชผักร่วมกับอาหารอื่น


การกินผักมีประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาล ได้วิตามิน เกลือแร่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ได้กากใยให้ขับถ่ายสะดวก ได้ความชุ่มชื้นช่วยชะลอความชรา ช่วยบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด แพทย์แผนจีนจึงมีคำกล่าวว่า “อาหารและยามีรากเหง้าเดียวกัน” ดังนั้น แต่ละวันแต่ละมื้อบนโต๊ะอาหารต้องมีเมนูผักร่วมด้วย เพื่อความสมดุลของหมู่อาหาร แต่การนำผักแต่ละชนิดมาร่วมประกอบเป็นอาหารแต่ละชนิดนั้น จะมีทั้งศาสตร์และศิลปะในตัว ผักบางชนิดปรุงร่วมกันแล้วเพิ่มรสชาติที่อร่อย ให้คุณประโยชน์ อย่างเช่น หน่อไม้กับน้ำย่านาง เข้ากันได้ดีมาก หน่อไม้หลังต้มให้หายขมแล้ว พอใส่น้ำย่านางเข้าไปจะอ่อนนิ่มน่ากินทันที หรือขี้เหล็กถ้าจะไม่ให้ขม ตำมะเขือพวงใส่เข้าไปจะหายขมทันที แต่ผักบางชนิดปรุงด้วยกันแล้วไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย กระทั่งเป็นพิษ จึงต้องทำอย่างระมัดระวัง
 
 

ห้ามพืชผักด้วยกันและกับผลไม้
 
-หัวไชเท้าไม่ควรรวมกับลูกพลับ และผลไม้อื่นๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคเนื้องอกในต่อมไทรอยด์
-หัวไชเท้าไม่ควรกินร่วมกับโสม จะสูญเสียประโยชน์ของโสม


-ห้ามกินปวยเล้งพร้อมกับใบกุยช่าย จะทำให้ท้องร่วงง่าย

-ห้ามกินฟักทองร่วมกับเนื้อแพะ จะทำให้เกิดดีซ่าน

-ห้ามกินขึ้นฉ่ายพร้อมกับน้ำส้มสายชู จะกัดกร่อนเนื้อฟัน

-ห้ามกินผักมัสตาร์ดร่วมกับปลาหลี่ฮื้อ จะทำให้บวม

-ห้ามกินลูกพลับพร้อมกับน้ำอ้อย จะทำให้ท้องอืด ปวดกระเพาะ อาเจียน
 
 
ข้อห้ามพืชผักกับโรคบางอย่าง
 
                    ความจริงพืชผักมีประโยชน์ในการทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่ในโรคประจำตัวบางอย่าง หรือธาตุของร่างกายที่ต่างกันก็มีข้อห้ามในการกิพืชผักที่ต่างกัน เช่น

 - ถ้าเป็นโรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารร้อน ไม่ควรกินขิง พริก และพืชผักที่ที่รสจัด

-ถ้าเป็นโรคเกาต์ไม่ควรกินหน่อไม้ เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง ผักทอดยอด เป็นต้น

-ถ้าเป็นเบาหวาน ไม่ควรกินข้าวโพด มันเทศ รากบัว ถั่วแดง ถั่วแระ และพืชผักประเภทถั่ว 


-ถ้ากระเพาะเป็นแผล ควรเลี่ยงผักขึ้นฉ่าย หน่อไม้ ผักบุ้ง พริกใหญ่สีเขียว หอมใหญ่ พริกขี้หนูที่เผ็ดจัด เป็นต้น

-ถ้าเป็นโรคไต เป็นไตวายเรื้อรัง ต้องเลี่ยงพืชผักที่มีโปแทสเซียมมาก เช่น กล้วยหอม ฟักทอง เป็นต้น

ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/ และภาพจาก internet