วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รีแบรนดิ้ง"ชาซีลอน" เครื่องดื่มคนจน เป็นสุดยอดเครื่องดื่มกรัมละ1หมื่นบาท


เมื่อก่อนนี้ ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าได้จิบชาซีลอนร้อนๆสักถ้วย จะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่นผ่อนคลาย แต่เดี๋ยวนี้บริษัทผลิตชาซีลอนของศรีลังกากำลังสร้างภาพลักษณ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

ต่อไปใครดื่มชาซีลอนแล้วจะรู้สึกว่าชาช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

“โรฮัน เฟอร์นันโด” ผู้ผลิตชาวซีลอนยี่ห้อ “เอชวีเอ” ผลิตชาระดับพรีเมี่ยม ราคาขาย60กรัมอยู่ที่ 350เหรียญสหรัฐ (ราว 10,150บาท)

โรฮันบอกว่า แต่ก่อนแต่ไร ผู้คนคิดว่าชาเป็นเครื่องดื่มของคนจน แต่เรากำลังจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ชาซีลอนเป็นเครื่องดื่มระดับสุดยอด

อุตสาหกรรมชาในประเทศศรีลังกาเร่งทำงานอย่างเคร่งเครียดเพื่อพิสูจน์ทางการแพทย์ว่า ชาซีลอนช่วยสร้างสมรรถนะทางเพศ ไม่ใช่แค่เพียงเป็นเครื่องดื่มของคนรักชาเท่านั้น

ในทางวิทยาศาสตร์ ชาประกอบด้วยโพลีฟีนอลส์ เฟโวนอยด์ส และแอนตี้ ออกซิแดนท์ พิสูจน์ได้ว่าเป็นตัวช่วยฟื้นฟูภูมิต้านทานและการหมุนเวียนโลหิต

ชาซีลอนสีขาวหรือที่รู้จักกันใน “ซิลเวอร์ทิปส์และโกลเด้นทิปส์” ถือเป็นชาทีมีคุณภาพสูง ได้รับความนิยมในหมู่นักธุรกิจชาวซาอุดิอารเบีย ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นที่ร่ำรวย

ซีเวอร์ทิปส์หรือโกลเด้นทิปส์ เป็นใบชาที่เก็บจากไร่ด้วยความทะนุถนอมดูแลอย่างดี และนำมาตกแห้งจนเปลี่ยนเป็นสีทองหรือสีเงิน

โรงงานของโรฮันอยู่ในเมืองกันดานา ทางตอนเหนือกรุงโคลัมโบ ซึ่งเก็บใบชาชั้นดีบรรจุในหม้อเซรามิกห่อด้วยกำมะหยี่และผูกริบบิ้นสีทอง

ส่วน”เฮอร์แมน กูนารัต”ผู้ผลิตชาชั้นนำของศรีลังกาบอกว่า ชาที่ผลิตจากไร่เป็นชาขาวบริสุทธิ์จริงๆ เพราะระหว่างกระบวนการผลิตจะไม่ใครได้สัมผัสเนื้อชา ต่างจากชาทั่วไปที่คนงานจะใช้มือหยิบ

ราคาขาย”ชาขาว”ในตลาดกรุงปารีส ฝรั่งเศส จะอยู่ที่กรัมละ  88 เหรียญสหรัฐหรือ 4,400 เหรียญต่อกิโลกรัม

“ชาขาวของบริษัทเราจะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ 10.11เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นระดับสูงสุดของชา จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพ เพิ่มสมรรถนะทางเพศอย่างอัตโนมัติ”เฮอร์แมนบอกนักข่าว”เอเอฟพี”

ความจริงแล้วชาไม่ใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกา แต่”เจมส์ เทย์เลอร์”ชาวสก็อตนำไปปลูกเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2392หรือ 164ปีที่แล้ว จากนั้นชาซีลอนกลายเป็นสินค้าหลักของศรีลังกา

 เมื่อปีที่แล้วประเทศศรีลังกาผลิตชาส่งออก 320 ล้านกิโลกรัม ทำรายได้เกือบ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากศรีลังกายังกลายเป็นแหล่งประมูลชาที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซื้อขายกัน 5-6 ล้านกิโลกรัมต่อสัปดาห์ 
“กูนารัต”ตั้งใจปลูกชาปลอดสารพิษ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีปนเปื้อน เพื่อรักษาคุณภาพใบชาและต้องการจะเปลี่ยนภาพลักษ์ชาเพื่อเพิ่มศักยภาพของสินค้าให้มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างน้อยสี่เท่าตัว

ภาพและข้อมูลจาก  http://www.matichon.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น