วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

แมคคาเดเมีย


แมคคาเดเมียไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศออสเตรเลีย มีอยู่ 10 ชนิด แต่สามารถบริโภคได้เพียง 2 ชนิด เป็นพืชที่ปลูกได้ในอุณหภูมิระหว่าง 9 องศาเซลเซียส และสูงสุดไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส ต้องการน้ำและดินที่อุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี
เมล็ดแมคคาเดเมียมีกรดไขมันไม่ อิ่มตัวสูงช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ไม่มี  คอเลสเตอรอล สามารถสกัดน้ำมันเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื้นและความลื่นแก่ผิว เปลือกของเมล็ดเผาเป็นถ่านช่วยดูดกลิ่นและจับอนุมูลอิสระได้ดี


ถ่านแมคคาเดเมียให้ประโยชน์หลายอย่าง ใช้ทำน้ำแร่สำหรับดื่ม ประกอบไปด้วยแร่ธาตุเหมือนน้ำแร่ธรรมชาติ ถ่านสามารถสร้างประจุลบและปล่อยรังสีอินฟราเรดยาว ช่วยป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากทีวี คอมพิวเตอร์ และไมโครเวฟ ได้มีรังสีอินฟราเรดยาว เมื่อนำมาวางใกล้ตัวจะกระตุ้นการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิตทำให้ร่างกายอบอุ่น ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น นอนหลับง่าย.

ในอนาคต แมคคาเดเมีย จะเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยไม่อาจมองข้าม เพราะมีรสชาติอร่อยและมีราคาแพง อุดมไปด้วยวิตามิน เต็มไปด้วยน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลให้แก่ร่างกาย ทั่วโลกมีความต้องการสูง มีราคามาตรฐานสากลไม่เหมือนพืชเศรษฐกิจตัวอื่นที่มีราคาขึ้น-ลงไม่แน่นอน และเป็นพืชชนิดเดียวที่ไม่ถูกกีดกันทางการค้าจากองค์การค้าโลก
ตลาดรับซื้อแมคคาเดเมีย ที่ใกล้ไทยที่สุดและเป็นตลาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น และจีน ทั้งนี้เพราะประเทศจีนมีปัญหาในเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศ จึงไม่สามารถปลูกแมคคาเดเมียได้ แต่ความต้องการของจีนมีมาก เป็นพืชที่ชอบความเย็น พื้นที่เหมาะสมอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป และมีความชื้นตลอดถึงน้ำใต้ดินเพียงพอ ต้องการน้ำเฉลี่ย 15 ลิตร ต่อต้นต่อวันจะให้ผลผลิตได้ดีเมื่อมีอายุต้นประมาณ 10 ปีขึ้นไป และสามารถเก็บต่อเนื่องได้ถึงอายุ 100-125 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อต้น ให้ผลผลิตสูงสุดประมาณ 30 กิโลกรัมต่อต้น พื้นที่ 1 ไร่สามารถปลูกได้ 30 ต้น
ที่ดอยขุนห้วยยาตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการปลูกแมคคาเดเมีย เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำห้วยตอง ห้วยยา ห้วยโป่ง ห้วยผึ้ง ห้วยเขียดแห้ง และห้วยหมาบ้า เมื่อราษฎรเลิกทำไร่เลื่อนลอยหรือไร่หมุนเวียน และปลูกฝิ่น แล้วหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจที่ให้คุณต่อร่างกายควบคู่กับการรักษาสภาพภูมิประเทศเพื่อการเพาะปลูกด้วยการปลูกป่าในเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,100 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ในดิน 4,699,848 ลบ.ม. ซึ่งนับว่ามากกว่าในพื้นที่ป่าดิบเขาโดยทั่วไปที่ ปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ในดินจะอยู่ที่ 1,516.08 ลบ.ม.ต่อไร่เท่านั้น ป่าแห่งนี้จึงเป็นป่าต้นทุนน้ำให้กับราษฎรบ้านเสาแดงและบ้านห้วยเขียดเพื่อประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและปลูกพืชได้เพียงพอตลอดทั้งปี


ภาพและข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น