ขอฝากคำเตือนถึงพ่อ แม่ ผู้ปกครอง
ระวังบุตรหลานจะกลายเป็นโรคอ้วน หากยังเลี้ยงด้วยวิธีผิดๆ โดยเมื่อไม่นานมานี้
เดลีเมล์ ได้เผยผลวิจัยปัญหาโภชนาการในเด็กอังกฤษ
พบว่า 1 ใน 3 ของพ่อแม่แดนผู้ดีชอบต่อรองหรือยื่นข้อเสนอให้
บุตรหลานเชื่อฟัง ไม่ดื้อ ไม่ซน ด้วยการใช้ขนมหวาน ช็อกโกแลต เป็นสิ่งล่อใจ
บุตรหลานเชื่อฟัง ไม่ดื้อ ไม่ซน ด้วยการใช้ขนมหวาน ช็อกโกแลต เป็นสิ่งล่อใจ
พฤติกรรมข้างต้นนั้น ส่งผลเสียในระยะยาว
ทำให้เด็กติดนิสัยชอบกินจุบจิบ โดยเฉพาะของหวานสารพัดชนิด
สุดท้ายก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน และเป็นโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงป่วยโรคร้ายมากมาย
เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการวิจัย ทำให้ทราบว่า คุณแม่กลุ่มตัวอย่าง 2,002 คน ซึ่งมีลูกอายุระหว่าง 1-5 ปีนั้น กว่าร้อยละ 26
ยอมรับว่า ให้ลูกลิ้มรสขนมหวานตั้งแต่เด็กอายุยังไม่ถึง 9 เดือน แถมร้อยละ 61 รับว่า
ให้ลูกน้อยกินขนมหวานทุกวัน
ส่วนสาเหตุหลักๆ
ที่ทำให้แม่ต้องแนะนำให้ลูกรู้จักขนมหวานตั้งแต่ยังเล็ก กว่าร้อยละ 56 เชื่อว่า สิ่งนี้เป็นเครื่องหลอกล่อที่ได้ผลดี ช่วยให้เด็กยอมทำตามคำสั่ง
เช่น ใช้หลอกล่อเด็กให้ยอมกินข้าวและเมื่อกินหมดจาน
เด็กจะได้กินขนมหวานตามที่แม่สัญญาไว้
ด้วยวิธีหลอกล่อที่ไม่เหมาะสมข้างต้นนี้เอง ส่งให้ร้อยละ 60 ของพ่อแม่ พบว่า ลูกของตนชอบอ้อนขอกินขนมหวานตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 3
ขวบ แถมหลายรายชอบและติดมาก จนหลายครั้งพ่อแม่ต้องดุ
การให้บุตรหลานกินขนมหวานตั้งแต่เด็กๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
เพราะทำให้เด็กนักเรียนในอังกฤษกว่า 2 ล้านคน
มีน้ำหนักตัวเกินค่ามาตรฐาน แถมในจำนวนดังกล่าว มีไม่น้อยกว่า 7 แสนคน น้ำหนักเยอะจนเข้าข่ายป่วยโรคอ้วน
อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการเตือนว่า
ถ้าพ่อแม่ยังไม่เลิกใช้ขนมหวานเป็นสิ่งต่อรอง ในอนาคตหรือราว ค.ศ.2030 ครึ่งหนึ่งของประชากรในอังกฤษจะเป็นโรคอ้วน
สำหรับการแก้ไขปัญหานั้น
ทางนักจิตวิทยาเด็กแนะพ่อแม่ต้องเลิกการต่อรองด้วยขนมหวาน
แม้เด็กวัยซนจะห่วงเล่นมากกว่าการกินอาหาร หากเด็กไม่ยอมกินข้าว
ก็ไม่ต้องตื้อและเก็บอาหารไป เมื่อบ่อยๆ เข้า ปัญหายอมกินข้าวเพื่อให้ได้ขนมหวานก็จะหมดไป
นอกจากนี้ ทางนักโภชนาการยังแนะเพิ่มอีกว่า
พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้ถึงผลกระทบของการกินอาหารบางอย่างที่มากเกินไปนั้น
จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างไรด้วย
ไม่อยากให้เด็กติดนิสัยชอบกินของหวานไปถึงตอนโต
พ่อแม่ควรต้องเลิกใช้ขนมหวานเป็นสิ่งต่อรอง-ล่อใจลูกแล้วล่ะ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น