นักวิจัยพบต้นกำเนิดโรคซาร์สมาจากค้างคาว (บีบีซี)
โดยพบไวรัสโคโรนา 2 ชนิด ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสก่อโรคในคน
นักวิทยาศาสตร์พบไวรัสโคโรนา 2 ชนิดในค้างคาวมงกุฏจีน (Chinese
นักวิทยาศาสตร์พบไวรัสโคโรนา 2 ชนิดในค้างคาวมงกุฏจีน (Chinese
horseshoe bat) ซึ่งไวรัสดังกลาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสก่อโรคซาร์ส
(Sars) ในคน และไวรัสติดเชื้อในเซลล์มนุษย์ด้วยวิธีเดียวกัน คือ จับกับตัวรับ
(receptor) ที่เรียกว่า ACE2
การค้นพบดังกล่าว บ่งชี้ว่าไวรัสโคโรนาดังกล่าวสามารถย้ายจากค้างคาว
การค้นพบดังกล่าว บ่งชี้ว่าไวรัสโคโรนาดังกล่าวสามารถย้ายจากค้างคาว
มาก่อโรคในคนได้โดยตรง มากกว่าจะอาศัยตัวอย่างชะมดเป็นพาหะนำโรคเหมือน
ที่เข้าใจก่อนหน้านี้ ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์ผลงาน
ลงวารสารเนเจอร์ (Nature)
อ้างตาม แกรี คราเมอริ (Gary Crameri) นักไวรัสวิทยาจากองค์การวิจัย
อ้างตาม แกรี คราเมอริ (Gary Crameri) นักไวรัสวิทยาจากองค์การวิจัย
วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ออสเตรเลีย และผู้เขียน
รายงานในเนเจอร์กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นกุญแจไขสู่การพิจารณาเกี่ยวกับค้างคาว
ในฐานะจุดเริ่มต้นให้เกิดการระบาดของซาร์ส
งานวิจัยเผยให้เห็นว่าไวรัสโคโรนาที่คล้ายไวรัสซาร์สที่ติดต่อในคนนี้มีพันธุกรรม
งานวิจัยเผยให้เห็นว่าไวรัสโคโรนาที่คล้ายไวรัสซาร์สที่ติดต่อในคนนี้มีพันธุกรรม
คล้ายคลึงกันถึง 95% และข้อมูลดังกล่าวยังนำไปใช้เพื่อพัฒนาวัคซีนตัวใหม่และ
ยาใหม่ๆ สำหรับต่อสู้กับโรคได้ และเป็นการสาธิตถึงไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ที่
คุกคามมนุษย์ ทั้งนี้ โรคซาร์สระบาดระหว่างเดือน พ.ย.2002 - ก.ค.2003
ซึ่งมีผู้ป่วยจากโรคนี้ทั่วโลกมากกว่า 8,000 คน และมากกว่า 770 คน เสียชีวิต
ไวรัสใช้ช่องทางเดียวกันในการจู่โจมเซลล์มนุษย์ (บีบีซี)
ด้าน ดร.ปีเตอร์ แดสแซก (Dr.Peter Daszak) ประธานสมาพันธ์อีโคเฮลธ์
(EcoHealth Alliance) และหนึ่งในผู้เขียนรายงานลงวารเนเจอร์ กล่าวว่า
ไวรัสโคโรนานั้นมีวิวัฒนาการที่รวดเร็วมาก โดยชนิดที่เพิ่งได้เห็นนี้วิวัฒนาการ
จากสปีชีส์หนึ่งไปเป็นอีกสปีชีส์ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกตินักสำหรับ
ไวรัส และคำถามสำคัญคือทำพวกมันถึงอุบัติขึ้นมาตอนนี้
รายงานบีบีซีนิวส์ยังฉายภาพไปถึงตลาดค้าสัตว์ป่าของจีนที่ทั้งสัตว์อื่นๆ
รายงานบีบีซีนิวส์ยังฉายภาพไปถึงตลาดค้าสัตว์ป่าของจีนที่ทั้งสัตว์อื่นๆ
และมนุษย์ต่างเข้าไปสัมผัสกับค้างคาวอย่างใกล้ชิด สร้างสภาพแวดล้อมราว
สวรรค์สำหรับไวรัสที่จะกระโดดจากสปีชีส์หนึ่งไปยังอีกสปีชีส์หนึ่ง หรือแม้แต่
การล่าสัตว์หรืออาศัยอยู่ใกล้ถ้ำค้างคาว ก็เป็นความเสี่ยงใหญ่หลวงที่จะติดเชื้อ
ไวรัสดังกล่าว ที่ถูกขับถ่ายมาพร้อมมูลของค้างคาว
การทำความเข้าใจจ่อกำเนิดของโรคติดเชื้ออย่างโรคซาร์สนี้จะช่วยให้
การทำความเข้าใจจ่อกำเนิดของโรคติดเชื้ออย่างโรคซาร์สนี้จะช่วยให้
นักวิทยาศาสตร์เข้าไปรับมือกับไวรัสก่อโรคในอนาคตก่อนที่มันจะอุบัติขึ้น
ผ่านความรู้ที่ว่าที่ใดคือแหล่งเพาะเชื้อ และไวรัสในตระกูลใกล้ชิดใดบ้างที่
มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องมากที่สุด แล้วจัดการป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ
ดร.แดสแซกกล่วว่าการค้นหาไวรัสก่อโรคในสัตว์เลี้ยงด้วยนมทั้งหมด
ดร.แดสแซกกล่วว่าการค้นหาไวรัสก่อโรคในสัตว์เลี้ยงด้วยนมทั้งหมด
ต้องใช้เงินราว 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่สำคัญที่เรา
จะต้องทำ เพราะเราสามารถผลิตวัคซีน และเตรียมพร้อมชุดทดสอบเพื่อ
ค้นหาระยะแรกของการอุบัติขึ้นของเชื้อก่อโรค แล้วหาทางหยุดไวรัสเหล่านั้น
ภาพและข้อมูลจาก http://board.postjung.com/ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น