วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556
อุทธาหรณ์สอนใจคนใส่ ‘เลนส์’นอน ตาติดเชื้อหวิดบอด
เดลิเมล์ - หลายคนสารภาพว่าเคยนอนหลับทั้งยังสวมถอดคอนแท็กเลนส์ แต่หลังจาก
ได้อ่านเรื่องนี้ พฤติกรรมนี้อาจหายไปหรืออย่างน้อยเพลาลง
เคที ริชาร์ดสัน วัย 24 ปี พบว่าเลนส์ที่ไม่สะอาดอาจนำไปสู่อาการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อ
ที่กระจก ตา และหากไม่รักษาอาจทำลายสายตาถาวร หรือในกรณีเลวร้ายที่สุดคือตาบอด
เคทีไม่รู้เลยว่า การนอนทั้งที่สวมคอนแท็กเลนส์ และใช้น้ำประปา
ล้างเลนส์เป็นครั้งคราว อาจทำให้ตาบอดได้
นักข่าวสายธุรกิจจากนอริช อังกฤษ ยอมรับว่าบ่อยครั้งเธอหลับไปทั้งยังใส่คอนแท็กเลนส์
ชนิดนิ่มแบบใส่-ถอดทุกวันและต้องเปลี่ยนใหม่ทุกเดือนที่เธอใส่มาตั้งแต่อายุ 14 ปี
เคทียังเล่าว่า บางครั้งบางคราวเธอใช้น้ำประปาแทนที่จะเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างเลนส์โดยเฉพาะ
จนมาเช้าวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม เคทีตื่นมาพร้อมอาการปวดตาข้างซ้าย ซึ่งเธอคิดว่า
เป็นอาการเยื่อตาอักเสบจึงไปซื้อยามาหยอดแต่อาการกลับแย่ลง
“น้ำตาไหลไม่หยุด รอบม่านตาแดงก่ำ ไม่นานฉันปวดตาเมื่อเจอแสง จนต้องนั่งในห้องมืดๆ
เปิดทีวียังไม่ได้เลย”
เช้าวันรุ่งขึ้น อาการปวดยิ่งแย่ลง ตาเคทีคันและอักเสบจนลืมไม่ขึ้น บ่ายวันนั้นเธอไปหา
หมอประจำและหมอส่งเธอเข้าโรงพยาบาลทันทีเนื่องจากคาดว่าเคทีเป็นโรคกระจกตาติดเชื้อจากเชื้อรา
ปกติแล้วดวงตาจะมีของเหลวหล่อเลี้ยง ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ปกป้องจากสารแปลกปลอม
นอกจากนั้นการกะพริบตายังป้องกันไม่ให้มีสิ่งใดติดอยู่บนพื้นผิวของดวงตา
แต่บางครั้งเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศหรือน้ำสามารถฝ่าฟันทะลุชั้นป้องกันของเซลล์บนกระจกตาได้
แบคทีเรีย pseudomonas เป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการกระจกตาอักเสบที่พบมากที่สุด
ขณะที่แบคทีเรียอันตรายที่สุดคือ acanthamoeba พบในน้ำประปาโดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำกระด้าง
และเจริญเติบโตอยู่ภายในกล่องใส่เลนส์ที่สกปรก
การติดเชื้อรามักเกิดกับคนที่เพิ่งกลับจากประเทศที่มีสภาพอากาศร้อน
ดร.ไซมอน คิลวิงตัน นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ อังกฤษ อธิบายว่าสาเหตุที่คน
อังกฤษมีความเสี่ยงกระจกตาติดเชื้อที่เกิดจากโปรโตซัว acanthamoeba มากกว่าคนบนแผ่นดินใหญ่
ในยุโรป เนื่องจากอังกฤษใช้แทงค์กักเก็บน้ำแพร่หลายกว่า
ดร.คิลวิงตันเสริมว่า Pseudomonas และ acanthamoeba เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อม
แต่เกิดมากในห้องน้ำ ดังนั้น การล้างหรือแช่เลนส์ด้วยน้ำประปาจึงอาจสร้างปัญหาได้ และจริงๆ
แล้วห้องน้ำไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสมในการใส่เลนส์เลยด้วยซ้ำ
ดร.คิลวิงตันยังเตือนว่าการสวมเลนส์คู่เดิมนานเกินเดือนอันตรายเช่นเดียวกัน
พาร์เวซ ฮอสเซน ผู้บรรยายอาวุโสวิชาจักษุวิทยา มหาวิทยาลัยเซาธ์แทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
ขานรับว่าคอนแท็กเลนส์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการกระจกตาติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เนื่องจาก
การทำความสะอาดและเก็บรักษาผิดวิธี
นอกจากนี้ อาการกระจกตาติดเชื้อยังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อาจไม่สังเกตเห็นจนกว่าจะมี
อาการปวด ซึ่งปกติแล้วจะยิ่งปวดมากขึ้นหลังจากถอดเลนส์
อาการปวดรุนแรง การสูญเสียการมองเห็น การรักษาที่ใช้เวลายาวนานซึ่งอาจรวมถึงการผ่าตัด
ตลอดทั้งผลกระทบที่มีต่องานและชีวิตทางสังคม อาจทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างรุนแรงได้
นอกจากการแพ้แสงและปวดแล้ว อาการอื่นๆ ยังรวมถึงน้ำตาไหล มองภาพไม่ชัด และทั้งหมดนี้
จะเลวร้ายลงนอกจากได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
กรณีของเคทีนั้น แพทย์สั่งให้หยอดยาหยอดตาสเตียรอยด์ทุก 5 นาทีในช่วง 3 ชั่วโมงแรก
ก่อนขยายเป็นทุกครึ่งชั่วโมงตลอดทั้งคืน และทุกชั่วโมงในวันรุ่งขึ้น และยังต้องปิดตาไว้ระหว่าง
รักษาด้วย
ทั้งนี้ งานศึกษาฉบับหนึ่งจากเนเธอร์แลนด์ในปี 1999 พบว่าผู้สวมเลนส์ชนิดนิ่มมีแนวโน้มกระจก
ตาติดเชื้อมากกว่าผู้สวมคอนแท็กเลนส์ชนิดแข็งที่ก๊าซซึมผ่านได้ถึง 3 เท่า
และผู้ที่สวมเลนส์นอนมีแนวโน้มมีอาการนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า
เคทีนั้นยืนยันกับตัวเองว่าจะไม่ผิดพลาดซ้ำสอง หลังจากใช้เวลารักษาและงดใส่เลนส์ 3 สัปดาห์
เพื่อให้สายตากลับมาเป็นปกติ เธอบอกว่ากำลังคิดผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค
“ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าสายตาฉันแย่ลงเร็วมากและอาจแย่กว่านี้ถ้ามารักษาไม่ทัน เพราะมีโอกาส
ตาบอดได้ น่ากลัวมาก ถ้ารู้เรื่องนี้แต่แรก ฉันคงระวังมากกว่านี้”
ข้อมูลและภาพจาก http://www.manager.co.th
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น