วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

โรควุ้นในตาเสื่อม

โรควุ้นในตาเสื่อม (Momypedia) เป็นแล้วไม่รักษาตาบอดได้เชียวนะ

       
          หากคุณรู้สึกว่าเห็นยุงบินรอบ ๆ ตัว แต่ตบเท่าไหร่ก็ไม่โดน หรือมองเห็นสิ่งแปลกปลอม 
เช่น หยากไย่ จุด เส้น ลอยไปลอยมาในตา นั่นอาจจะเป็นอาการของ "โรควุ้นในตาเสื่อม" 
ที่เกิดในลูกตาของคุณก็ได้!!

          นพ.พัฒน ธัญญกิตติกุล ประจำภาควิชาจักษุวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์
กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล มาเล่าเรื่องของโรคนี้ให้เราฟังกันอย่างง่าย ๆ

 อาการ โรควุ้นในตาเสื่อม

          เวลาลืมตาจะมองเห็นอะไรกวนตาเป็นรูปหยากไย่ ตาข่าย จุด เส้น วง ลอยไป
ลอยมา หรือบางคนบอกว่าเห็นเหมือนยุง แต่ปัดเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่มียุงนี่นา และจะอันตราย
สุด ๆ ถ้าในเวลาค่ำหรือในที่มืด คุณเห็นแสงคล้ายฟ้าแล่บแปล๊บ ๆ เพราะอะไรก็ต้อง
ติดตามกันต่อข้างล่างนะคะ

 สาเหตุ โรควุ้นในตาเสื่อม

          คุณหมอบอกว่าในลูกตากลม ๆ ของเรานี้จะมีวุ้นใสอยู่ตรงกลาง ระหว่างเลนส์กับ
จอประสาทตา และเมื่อคุณอายุ 40 วุ้นตรงนี้ก็จะเริ่มชราภาพ จากลักษณะเป็นวุ้นก็จะกลาย
เป็นของเหลว วุ้นที่เละจนเหลวนี่เอง เมื่อเรากลอกตาวุ้นก็จะกระเพื่อม กลายเป็นสิ่งที่
เรามองเห็นเป็นจุด เป็นเส้น ที่รบกวนสายตาเรานั่นเอง

          และการกลอกตาไปมาจะมีแรงกระชาก ให้จอประสาทตาให้ฉีกขาด และตอนนี้แหละ
ที่คุณอาจจะเห็นแสงแปล๊บ ๆ เหมือนฟ้าแลบ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา การฉีกขาดจะรุนแรง
ขึ้นกลายจอประสาทตอลอก ถ้าถึงขั้นนั้นก็แปลว่าคุณมองไม่เห็นอะไรแล้ว เพราะตาบอด
ไปเรียบร้อย!

 การรักษา โรควุ้นในตาเสื่อม

          ยังไม่มีการรักษาโรควุ้นในตาเสื่อมได้ เพราะมันเกิดจากความชราของอวัยวะเราเอง 
เรียกว่าเป็นไปตามอายุขัย แต่ยังพอสามารถรักษาอาการข้างเคียงของโรคนี้ได้บ้าง คือถ้า
จอประสาทตาฉีกขาดอย่างที่บอกไป หากไปพบจักษุแพทย์ เขาจะใช้เลเซอร์ซ่อมแซม
รอยขาดให้ปิดสนิท ก็ทำให้คุณยังมีดวงตาไว้ถนอมใช้ได้อีกนานค่ะ

 การป้องกัน โรควุ้นในตาเสื่อม  

      ถึงโรควุ้นในตาเสื่อมจะรักษาไม่ได้ แต่มันป้องกันได้นะคะ วิธีการก็คือ

           1.ป้องกันไม่ให้ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือน ทั้งจากการเล่นกีฬา จากอุบัติเหตุ 
และอื่น ๆ เพราะการที่ตาถูกกระแทกแรง ๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้วุ้นในตาเสื่อมได้เร็วขึ้น

           2.อย่าอ่านหนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้สายตาสั้น สายตาสั้นจะทำให้วุ้นในลูกตา
เสื่อมง่าย

           3.อย่านอนในที่สว่าง เพราะแม้ร่างกายจะหลับ แต่ลูกตาเมื่อได้รับแสงก็ยังทำงานอยู่ 
เมื่อลูกตาทำงานหนัก วุ้นก็จะเสื่อมได้ง่าย

           4.ถ้าคุณอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรจะไปพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะหาก
มีอาการแพทย์จะดูแลคุณในระยะแรกได้เลยค่ะ 

ภาพจากอินเทอร์เน็ต และข้อมูลโดยวิลาสิณี  จาก http://health.kapook.com

.............
โรคร้ายใกล้ตาโรควุ้นในตาเสื่อม
Posted by ซัลฟา  จาก http://www.oknation.net/

                         
          ในยุคที่ทุกคนเอาแต่ก้มหน้าก้มตามองแต่หน้าจอแบบนี้ โรคที่เกี่ยวกับดวงตาทั้งหลาย
จึงเป็นอีกโรคที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว หนึ่งในนั้นก็คือโรคที่กวนใจไม่ใช่น้อยอย่าง
“โรควุ้นในตาเสื่อม” ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเป็นโรคที่จะเกิดกับผู้สูงอายุที่อวัยวะย่อมเสื่อมไปตามวัย
และผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งเป็นอย่างมากเช่น ช่างเจียระไน เท่านั้น

         แต่ในปัจจุบันด้วยไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไป เราใช้ชีวิตกับหน้าจอสี่เหลี่ยมมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์ จอแท็ปเล็ต จอทีวี ซึ่งเป็นการใช้สายตาที่มากขึ้น
ทวีคูณย่อมส่งผลต่อการเสื่อมของวุ้นในตาที่มากขึ้นและเกิดขึ้นได้แม้จะอยู่ในวัยเรียนหรือ
ทำงานก็ตามโรคร้ายใกล้ตาโรควุ้นในตาเสื่อมนี้ เกิดจากการเสื่อมของ น้ำวุ้นตา (Vitreous)
ซึ่งก็คือสารใสคล้ายเจลอยู่ภายในลูกตาส่วนหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน ให้สารอาหาร
แก่จอประสาทตาและเซลล์ผนังลูกตาชั้นใน และช่วยพยุงลูกตาให้คงเป็นรุปทรงกลม

        โดยปกติแล้วโรคนี้หากเกิดกับผู้สูงอายุ จะไม่มีอันตรายใดๆ เพราะเป็นการเสื่อมของ
อวัยวะตามธรรมชาติ แต่หากเกิดกับเราๆ ท่านๆ ในวัยทำงานแล้วล่ะก็ อาจกลายเป็นโรคร้าย
ถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียวสังเกตได้ง่ายๆ โรคร้ายไกลตัวอาการโรควุ้นในตาเสื่อมจะทำให้
เราจะมองเห็นจุดหรือเส้นรูปร่างต่างๆ เช่น คล้ายหยากไย่ลอยไปมา เหมือนคราบที่ติดกระจก
เลยค่ะและจะเห็นชัดมากขึ้นเมื่อมองไปยังบริเวณที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าหรือผนังห้องขาวๆ
จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา จุดหรือเส้นเหล่านี้เกิดจากขณะที่น้ำวุ้นตาละลาย บางส่วน
จะจับตัวกันเป็นตะกอน ซึ่งถ้าเป็นมากโดยมีอาการเห็นแสงคล้ายฟ้าแล่บแปล๊บ ๆ ในเวลาค่ำ
หรือในที่มืด ถึงขั้นนี้แปลว่าอาการหนักแล้วค่ะ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้จอประสาทตา
ฉีกขาดและอาจทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียวสาเหตุใหญ่ของวันทำงานปัจจุบันนี้คนเป็นโรควุ้น
ในลูกตาเสื่อมกันมากขึ้นเพราะการใช้คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะวัยเรียนและวัยทำงาน ไม่ว่าคุณ
จะเล่นเน็ต,เล่นเกมส์, อ่านบทความหรืออะไรก็ตามที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ล้วนทำให้สายตา
คุณเสียได้ทั้งสิ้น เพราะการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นไม่เหมือนการอ่านหนังสือ เพราะ
การมองตัวหนังสือที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์มีลักษณะแขวนลอยอยู่ในจอ จึงทำให้สายตา
มีโฟกัสที่ไม่แน่นอน ส่วงผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนักเพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสีย
ได้มากขึ้น
          รูปแบบการอ่านที่ต้องอาศัยการเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลงเพื่อจะอ่านบรรทัดต่อไปได้
ก็เป็นการเลื่อนแบบกระตุก ซึ่งจะทำให้สายตาต้องปรับโฟกัสบ่อยเกินไป แสงสว่างจากจอ
คอมพิวเตอร์ก็ส่งผลให้สายตาเสียเช่นกันรวมไปถึงการใช้จอคอมพิวเตอร์ที่มีความกว้าง
มากเกินไป ซึ่งไม่เหมาะกับอ่านหนังสือ เพราะว่าสายตาคนเรานั้นมีระยะการมองเห็นตัวอักษร
ที่ 1 ฟุต (12นิ้ว) แต่จอคอมสมัยนี้กลับมีความกว้าง 17- 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้น ซึ่งกว้าง
เกินระยะกวาดสายตามอง จากขอบหนึ่งไปสู่อีกขอบหนึ่งทำให้ปวดทั้งคอทั้งตาได้ ซึ่งขนาด
ของจอคอมพิวเตอร์จึงไม่ควรเกิน 15 นิ้ว

โรคร้าย แต่ป้องกันได้ 
การป้องกันและรักษาโรควุ้นในตาเสื่อม
สำหรับการรักษาโรควุ้นในตาเสื่อมนั้น หากเกิดในผู้สูงอายุจะไม่สามารถรักษาให้หายได้
เพราะเกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ แต่สำหรับวัยทำงานยังพอสามารถรักษาอาการ
ข้างเคียงของโรคนี้ได้บ้าง เช่นถ้าจอประสาทตาฉีกขาดให้รีบไปพบจักษุแพทย์ ซึ่งจะใช้
เลเซอร์ซ่อมแซมรอยขาดให้ปิดสนิท ก็ทำให้คุณยังมีดวงตาไว้ถนอมใช้ได้อีกนาน
ส่วนการป้องกันโรควุ้นในตาเสื่อมได้ง่ายๆ ดังนี้
1.ป้องกันไม่ให้ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนทั้งจากการเล่นกีฬา จากอุบัติเหตุ และอื่น ๆ
เพราะการที่ดวงตาถูกกระแทกแรง ๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้วุ้นในตาเสื่อมได้เร็วขึ้น
 2.อย่าอ่านหนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้สายตาสั้น สายตาสั้นจะทำให้วุ้นในลูกตาเสื่อมง่าย
 3.ไม่ควรนอนในที่สว่างจ้า หรือมีแสงสว่างส่องโดยตรง เพราะในภาวะนี้แม้ร่างกายจะหลับ
 แต่ลูกตายังคงได้รับแสงและยังทำงานอยู่ เมื่อลูกตาทำงานหนัก วุ้นก็จะเสื่อมได้ง่ายมากขึ้น

เรื่องของดวงตาก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้ส่วนอื่นของร่างกายเลยนะคะ
 การใช้ชีวิตที่สมดุลกันระหว่างร่างกายกับเทคโนโลยี นอกจากจะไม่เป็นการทำร้ายดวงตา
ทางตรงแล้ว การได้ทำกิจกรรมอื่นๆ บ้างนอกเหนือจากการเฝ้ามองหน้าจอก็จะช่วยให้เรา
ได้ใช้ชีวิตอย่างมีมิติมากขึ้นอีกด้วยค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น