วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำงานแต่ในตึก รู้วิธีป้องโรค Sick Building Syndrome ด้วยตัวเอง

มารู้เรื่องโรคของคนทำงานในตึกหรือในอาคารที่เป็นที่ทึบๆที่เขาเรียนว่า Sick building  Syndrome กันดีกว่า
ชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครแห่งนี้อาจไม่ต่างกันเท่าไรนัก ชีวิตประจำวันก็คือ การขลุกอยู่ในอาคารนั้นที อาคารนี้ที ตื่นแต่เช้ามาทำงาน เจอผู้คนที่เดินขวักไขว่เบียดเสียดไปมา รถราเต็มเมือง เย็น ๆ เดินห้าง กินข้าว ช้อปปิ้ง ตกค่ำกลับคอนโดฯ หรือไปปาร์ตี้กลางดึก แม้จะได้ออกไปเดินเล่นบ้าง แต่อากาศก็ไม่บริสุทธิ์ เราใช้ชีวิตแบบนี้กันอย่างเคยชิน แต่รู้ไหมว่าชีวิตที่อยู่ในอาคารมาก ๆ แบบนี้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค Sick Building Syndrome (SBS) หรือโรคป่วยอาคารสูงเป็นอย่างมาก หลายคนอาจยังไม่คุ้นชินกับชื่อโรคนี้ แต่สาว ๆ จ๊ะ รู้ไว้ใช่ว่า

SBS?
Sick Building Syndrome (SBS) คือ ภาวะผิดปกติด้านสุขภาพทางตา จมูก ลำคอ การหายใจส่วนล่าง ผิวหนังและอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นคล้ายกัน ในกลุ่มคนทำงานในอาคารสำนักงานที่มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่อยู่ในอาคาร แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนได้ ปัญหาอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารหรือกับทุกส่วนของอาคารก็ได้ โดยอาการป่วยดังกล่าวเป็นอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะโรค มักเกิดในสำนักงาน แต่อาการจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อออกนอกอาคาร

สาเหตุปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นมาหลังจากได้มีการใช้อาคารแล้วซึ่งอาจเป็นเพราะการดีไซน์อาคารที่ไม่ดีมาตั้งแต่แรกหรือการมีระบบดูแลรักษาอาคารที่ไม่ได้ประสิทธิภาพแต่อีกเหตุผลที่เป็นไปได้คือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในอาคารเองก็มีส่วนทำให้อะไร ๆ ดูแย่ลงได้

อากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ โดยเฉพาะระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ทำให้ปริมาณอากาศภายนอกที่เข้าไปแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกับอากาศภายในอาคารลดลง

มีสารเคมีฟุ้งกระจายภายในอาคารในปริมาณสูงแหล่งของสารเคมีที่พบบ่อยคือกาวน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนประกอบของสารฟอร์มาลดีไฮด์ การทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือวัสดุที่เป็นไม้ เครื่องถ่ายเอกสาร ปริ๊นเตอร์ ยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ในอาคาร เตาอบที่ใช้แก๊ส รวมถึงสารระเหยจากสีทาผนัง ไม้อัด สารเคลือบเงาทั้งหลายหรือรังสีจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ

สารเคมีจากภายนอกอาการ เช่น ก๊าซจากรถยนต์หรือจักรยานยนต์ ควันจากการปรุงอาหารประกอบกับการถ่ายเทอากาศภายในที่ไม่เพียงพอ

สารชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส รา ละอองเกสร มูลนก สารเหล่านี้มักปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ฝ้าเพดานที่ขึ้น ฝุ่นในพรม เชื้อโรคจากมด ปลวก และแมลงสาบ นอกจากนี้อาจเป็นเพราะคนในอาคารแออัดมากเกินไป แล้วไอหรือจามไว้ทำให้เชื้อโรคกระจายเวียนวนอยู่ในตึก

อาการ
ผู้อาศัยในอาคารมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคือง ตา จมูก หรือลำคอ จาม น้ำมูกไหล คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ไวต่อกลิ่นมากขึ้น หดหู่ อ่อนเพลีย ง่วงนอน

สำหรับคนที่แพ้ง่ายหรือคนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว อาการแพ้จะกำเริบมากขึ้น ที่พบบ่อยคือ แพ้ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อจากแมลงสาบ ทำให้มีอาการไอ จามที่รุนแรงขึ้นจนถึงขั้นหอบ

มีเหตุแก้เหตุ กำจัดแหล่งสารปนเปื้อน เช่น จัดระบบบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ และระบบระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ ทำความสะอาดไส้กรองอากาศอยู่เป็นประจำ ทำความสะอาดพรมหรือเพดานที่ขึ้น เก็บสารระเหยอย่างมิดชิดไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท และเปิดใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีคนทำงาน หากเป็นอาคารใหม่ ควรมีช่วงเวลาที่ให้อากาศหรือก๊าซจากการตกแต่งระเหยออกไปก่อนเข้าใช้อาคาร กำหนดบริเวณในการสูบบุหรี่ซึ่งต้องมีอากาศถ่ายเทได้

ลดปริมาณมูลภาวะทางอากาศ เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นกำเนิดของไอระเหยที่เป็นพิษให้น้อยที่สุด (ค่า VOCs ต่ำ) หรือเลือกวัสดุอื่นทดแทน เช่น ใช้สีทาผนังแบบที่ไม่มีโลหะหนักผสม ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้จริง หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้อัดแบบที่ปล่อยไอระเหยน้อยกว่าปกติ

ควบคุมสิ่งแวดล้อมในอาคารให้มีอากาศหมุนเวียนจากภายนอกอาคารบ้างควรให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้องหรือเปิดหน้าต่างตอนที่ปิดแอร์เพื่อให้อากาศที่ค้างอยู่ในตึกระบายออกไป

เพิ่มระบบการถ่ายเทอากาศ โดยเฉพาะบริเวณที่มีสารเคมีระเหยออกมาได้ เช่น ห้องน้ำ ห้องถ่ายเอกสารหรือห้องที่มีปริ๊นเตอร์ ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องกำจัดกลิ่นควัน

ทำความสะอาดอาคาร เครื่องเรือน ดูดฝุ่น ตามพรม หรือซักผ้าม่านให้บ่อยขึ้น เพื่อไม่ให้มีไรฝุ่นเกาะสะสม

เครื่องปรับอากาศ ไม่ควรมีน้ำรั่ว จะเกิดเชื้อราตามพื้น ฝาผนัง ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดถูตามพื้นอาคารและเครื่องเรือนใช้น้ำยาพ่น กำจัดเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรีย หลังเวลาใช้งาน

หลีกเลี่ยงการตากผ้าเปียกในอาคาร

ไม่ควรทิ้งขยะค้างคืนไว้ในสำนักงานเพราะจะเป็นอาหารของแมลงสาบ

หาต้นไม้ในร่มมาปลูกและตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ในห้องเพื่อช่วยฟอกอากาศ และลดปริมาณสารพิษ ยิ่งถ้าเป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษได้ก็ยิ่งเริ่ด

ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ใช้อาคารซึ่งจะเป็นวิธีป้องกันที่ยั่งยืนที่สุด

องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าร้อยละ30ของอาคารสำนักงานใหม่หรือที่มีการปรับปรุงจะพบกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารขณะเดียวกันพบว่า ร้อยละ 20-35 ของผู้ทำงานในอาคารสำนักงานที่ไม่มีปัญหาเรื่องคุรภาพอากาศภายในอาคาร สามารถพบอาการของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารได้เช่นกัน และผู้ทำงานในอาคารสำนักงานเก่าจะปรากฏอาการมากกว่า อาคารสำนักงานใหม่


หญิงเสี่ยงกว่าชาย
มีรายงานว่า อัตราการเกิดโรคป่วยอาคารสูงนั้น ส่วนใหญ่เป็นมากในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าผู้ชายและยังมีแนวโน้มที่เกิดอาการปากแห้งคอแห้งหรือผื่นแพ้บนผิวหนังมากกว่าผู้ชายอีกด้วยสาวๆส่วนใหญ่มักทำงานอยู่ในออฟฟิศ ทำให้มีโอกาสจะเจอกับมลพิษในอาคารได้บ่อยกว่า เนื่องจากผู้ชายโดยเฉพาะแล้วจะทำงานนอกสถานที่ซะมากกว่านั่นเอง


ขอขอบคุณ http://www.prachachat.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น