วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

อึ้ง! 'ใบตองอ่อน' รักษาแผลหายเร็วกว่าผ้าก๊อซ


นักวิชาการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอีเซ จ.ศรีสะเกษ นำใบตองอ่อนมารักษาแผลถลอก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบบภูมิปัญญาไทย เผยสารเคลือบผิวของใบตอง ทำแผลหายเร็วขึ้นกว่า...
เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 57 นางไอยริษา เสาร์ศิริ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ได้นำเสนอผลงาน การรักษาแผลด้วยใบตองอ่อน ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น ในระบบบริการประชาชนและประสบผลสำเร็จ ได้ผลดี สร้างความพึงพอใจ ช่วยลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะทำแผลได้เป็นอย่างดี ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2557 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

โดยนางไอยริษา กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอีเซ มีผู้ป่วยไปรับบริการทำแผล 12-25 ราย โดยเป็นบาดแผลเปิด แผลถลอกร้อยละ 40 แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ร้อยละ 20 แผลเปื่อยติดเชื้อร้อยละ 25 แผลที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยมากที่สุดคือ บาดแผลถลอก และแผลถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เนื่องจากเมื่อปิดผ้าก๊อซ เคลือบวาสลินบนแผลแล้ว แผลจะแห้งและลอกหลุดยาก ต้องใช้น้ำเกลือล้างแผล ช่วยละลายสิ่งคัดหลั่งบนแผลให้ชุ่ม จึงจะลอกผ้าก๊อซออกได้ ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด กลัวการทำแผล จึงได้ศึกษาภูมิปัญญาวิถีชาวบ้านด้านการดูแลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกและแผลถลอก โดยใช้ใบตองกล้วยใบอ่อน ที่ยังไม่คลี่ใบ มาใช้ปิดบาดแผล แทนการใช้ผ้าก๊อซเคลือบวาสลิน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลให้แผลหายเร็วที่สุด ลดความเจ็บปวดขณะทำแผล


ทั้งนี้ จากการศึกษาการใช้ใบตองอ่อนปิดแผล ให้ผู้ป่วยที่มีบาดแผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก จำนวน 20 ราย พบว่าบาดแผลที่ปิดด้วยใบตอง เนื้อเยื่อมีการสมานกับได้ดี และใบตองอ่อนไม่ติดกับบาดแผล จึงมีผลทำให้แผลหายเร็วกว่าแผลที่ปิดด้วยผ้าก๊อซ ประมาณร้อยละ 80 โดยบาดแผลถลอกไม่ลึกที่ใช้ใบตองปิด จะใช้เวลาหายประมาณ 7 วัน หากใช้ผ้าก๊อซปิด จะใช้เวลา  12-14 วัน ส่วนบาดแผลถลอก หรือแผลไฟไหม้ที่มีขนาดลึก การปิดแผลด้วยใบตองอ่อน จะหายประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนแผลที่ใช้ผ้าก๊อซปิด จะหายประมาณ 3-4 สัปดาห์ สร้างความพึงพอใจผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 98 มีอาการเจ็บปวดเล็กน้อยขณะทำแผล หากเป็นผู้ป่วยเด็กจะชื่นชอบมาก และไม่กลัวการทำแผลเหมือนที่ผ่านมา ส่วนในด้านต้นทุนพบว่า เกิดการลดต้นทุนต่อครั้ง ลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ การทำแผลและปิดแผลด้วยใบตองอ่อน ใช้เงินประมาณ 18-20 บาท ขณะที่การใช้ผ้าก๊อซเคลือบวาสลินปิดแผลใช้ประมาณ 50 บาท             
นางไอยริษา กล่าวต่อว่า ในการนำใบตองอ่อนมาปิดแผลนั้น จะต้องตัดใบให้พอเหมาะกับขนาดแผล จากนั้นคลี่ใบตองออก ตัดส่วนที่สัมผัสอากาศทิ้งไป จากนั้นใช้กรรไกรสะอาด ตัดใบตองขนาดพอดีกับการปิดบาดแผลสนิท และใช้ไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ด้านของใบตองที่มีผิวมันที่จะใช้ปิดแผล การเช็ดต้องเช็ดทางเดียวให้เต็มพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลดีในการฆ่าเชื้อโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์   
หลังจากทำความสะอาดบาดแผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกตามมาตรฐานแล้ว ขั้นต่อไปคือการปิดแผล จะนำใบตองอ่อนที่ผ่านการเช็ดฆ่าเชื้อแล้ว มาปิดลงบนแผล และใช้ผ้าก๊อซทำแผล ปิดซ้ำข้างบนและติดปลาสเตอร์ยึดไว้ ใบตองอ่อนที่เหลือ สามารถเก็บไว้ใช้ต่อไปได้ โดยตัดเป็นท่อนขนาดพอใช้กับแผล ใส่ในถุงพลาสติก สามารถเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส  ได้นาน 1 เดือน  ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่ ให้การยอมรับวิธีการทำแผล และปิดแผลด้วยใบตองกล้วยอ่อน คาดว่า ในอนาคตควรมีการศึกษากลวิธีการรักษาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและสถานบริการ สืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่อย่างรู้ค่าต่อไป.

ภาพจากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/ 

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

เหตุผลmที่ทำไมคุณควรกิน'เชอร์รี่'




หลายๆ คนชอบกินเชอร์รี่ เพราะเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยหวานๆ เปรี้ยวๆ ถูกปากคุณผู้หญิงซะเหลือเกิน นอกจากรสชาติดีแล้วเชอร์รี่ยังมีคุณประโยชน์มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ไทยรัฐออนไลน์จึงนำ 10 เหตุผลที่น่าตื่นตาตื่นใจว่าทำไมคุณควรกินเชอร์รี่มากขึ้น...
1.เพิ่มพลังงานของคุณได้อย่างที่คาดไม่ถึง

การกินเชอร์รี่ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในเชอร์รี่มีน้ำตาลจากธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มอารมณ์และเพิ่มระดับพลังงานของคุณอีกด้วย

2.ช่วยให้คุณนอนหลับได้อย่างสบายมากขึ้น
หากคุณมีปัญหากับการนอนหลับ หลับยาก พลิกตัวไปมาหลายตลบ นับแกะก็แล้ว ก็ยังนอนไม่หลับ ขอบอกไว้เลยว่าการกินเชอร์รี่อย่างสม่ำเสมอช่วยคุณได้อย่างแน่นอน เชอร์รี่มีเมลาโทนิที่ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

3.ดีสำหรับดวงตาของคุณ
อีกเหตุผลที่ควรจะกินเชอร์รี่ทุกวันเพราะเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่ดีสำหรับดวงตาของคุณ เชอร์รี่มีวิตามินมากมายและยังมีเบต้าแคโรทีที่ช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ที่ดีและให้ทำให้ดวงตาของคุณมีสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย
                                                              เชอร์รี่ผลไม้มหัศจรรย์
4.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
คุณรู้ไหมว่าโดยการกินเชอร์รี่เป็นประจำคุณสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งบางชนิดได้ เชอร์รี่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพที่ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งทั้งยังช่วยในเรื่องการเกิดริ้วรอยทำให้ชะลอความแก่ได้ด้วย

5. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น
เชอร์รี่มีปริมาณเส้นใยสูงจึงช่วยปรับปรุงระบบการย่อยอาหารของคุณและช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณได้อีกด้วย

6.ลดอาการปวม และบรรเทาอาการปวด
เชอร์รี่ผลไม้สีสวยที่มีแอนโทไซยานิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน และสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยป้องกันและรักษาโรคเกาต์ อาการข้ออักเสบปวดบวมตามข้อ ได้มากถึง 37% หากรับประทานต่อเนื่องเป็นประจำ และหากคุณมีอาการปวดข้ออักเสบลองกินเชอร์รี่เข้าไปแทนการกินยาและลองสังเกตว่ามันเหมาะกับคุณหรือไม่

7.ช่วยป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ
แม้ว่ากล้วยจะมีโพแทสเซียมสูงแต่คุณไม่ชอบที่จะกินมันเลย เชอร์รี่เป็นนอีกทางลือกหนึ่ง คุณสามารถรับโพแทสเซียมจากเชอร์รี่ได้เหมือนกัน โพแทสเซียมจะช่วยลดและป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้น้ำเชอร์รี่ยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนอีกด้วย

8.ความจำดี บำรุงสมองของคุณ
หากคุณรู้สึกหลงๆ ลืมๆ เชอร์รี่สามารถช่วยให้ความจำของคุณดีขึ้น เรียกได้ว่าเชอรี่เป็นอาหารของสมองเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเมื่อสมองรู้สึกเมื่อล้า คิดอะไรไม่ได้ลองหยิบเชอร์รี่มากินเพื่อจะช่วยให้สมองของคุณดีขึ้นได้

9.ดีสำหรับหัวใจของคุณ
เชอร์รี่ถือเป็นผลไม้หรืออาหารที่ดีสำหรับหัวใจของคุณ เชอร์รี่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ยังไม่สายเกินไปที่คุณจะจะเริ่มต้นดูแลสุขภาพหัวใจของคุณให้แข็งแรงได้ด้วยเชอร์รี่

10.ช่วยลดอาการอักเสบ
หนึ่งในประโยชน์ด้านสุขภาพที่สำคัญที่สุดของเชอร์รี่คือ ช่วยลดอาการอักเสบได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับนักวิ่งและนักกีฬาที่อาจจะปวดเนื้อเมื่อยตัว ได้รับบาดเจ็บหลังจากการออกกำลังกายหรือกิจกรรมหนักๆ เช่นเดียวกับสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ถ้าคุณกำลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ให้ลองดื่มน้ำผลไม้เชอร์รี่ วันละ 3 ครั้งจะช่วยให้คุณดีขึ้นอย่างแน่นอน

ภาพและข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/