วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นักวิจัยพบ“ซาร์ส” มาจากค้างคาว

นักวิจัยพบต้นกำเนิดโรคซาร์สมาจากค้างคาว (บีบีซี)


นักวิจัยเจอหลักฐานหนักแน่นชี้ไวรัสก่อ “โรคซาร์ส” มีกำเนิดมาจากค้างคาวจีน 
โดยพบไวรัสโคโรนา 2 ชนิด ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสก่อโรคในคน 
       
       นักวิทยาศาสตร์พบไวรัสโคโรนา 2 ชนิดในค้างคาวมงกุฏจีน (Chinese 
horseshoe bat) ซึ่งไวรัสดังกลาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสก่อโรคซาร์ส 
(Sars) ในคน และไวรัสติดเชื้อในเซลล์มนุษย์ด้วยวิธีเดียวกัน คือ จับกับตัวรับ
(receptor) ที่เรียกว่า  ACE2
       
       การค้นพบดังกล่าว บ่งชี้ว่าไวรัสโคโรนาดังกล่าวสามารถย้ายจากค้างคาว
มาก่อโรคในคนได้โดยตรง มากกว่าจะอาศัยตัวอย่างชะมดเป็นพาหะนำโรคเหมือน
ที่เข้าใจก่อนหน้านี้ ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์ผลงาน
ลงวารสารเนเจอร์ (Nature)
       
       อ้างตาม แกรี คราเมอริ (Gary Crameri) นักไวรัสวิทยาจากองค์การวิจัย
วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ออสเตรเลีย และผู้เขียน
รายงานในเนเจอร์กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นกุญแจไขสู่การพิจารณาเกี่ยวกับค้างคาว
ในฐานะจุดเริ่มต้นให้เกิดการระบาดของซาร์ส
       
       งานวิจัยเผยให้เห็นว่าไวรัสโคโรนาที่คล้ายไวรัสซาร์สที่ติดต่อในคนนี้มีพันธุกรรม
คล้ายคลึงกันถึง 95% และข้อมูลดังกล่าวยังนำไปใช้เพื่อพัฒนาวัคซีนตัวใหม่และ
ยาใหม่ๆ สำหรับต่อสู้กับโรคได้ และเป็นการสาธิตถึงไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ที่
คุกคามมนุษย์ ทั้งนี้ โรคซาร์สระบาดระหว่างเดือน พ.ย.2002 - ก.ค.2003 
ซึ่งมีผู้ป่วยจากโรคนี้ทั่วโลกมากกว่า 8,000 คน และมากกว่า 770 คน เสียชีวิต

ไวรัสใช้ช่องทางเดียวกันในการจู่โจมเซลล์มนุษย์ (บีบีซี)


 ด้าน ดร.ปีเตอร์ แดสแซก (Dr.Peter Daszak) ประธานสมาพันธ์อีโคเฮลธ์ 
(EcoHealth Alliance) และหนึ่งในผู้เขียนรายงานลงวารเนเจอร์ กล่าวว่า 
ไวรัสโคโรนานั้นมีวิวัฒนาการที่รวดเร็วมาก โดยชนิดที่เพิ่งได้เห็นนี้วิวัฒนาการ
จากสปีชีส์หนึ่งไปเป็นอีกสปีชีส์ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกตินักสำหรับ
ไวรัส และคำถามสำคัญคือทำพวกมันถึงอุบัติขึ้นมาตอนนี้
       
       รายงานบีบีซีนิวส์ยังฉายภาพไปถึงตลาดค้าสัตว์ป่าของจีนที่ทั้งสัตว์อื่นๆ 
และมนุษย์ต่างเข้าไปสัมผัสกับค้างคาวอย่างใกล้ชิด สร้างสภาพแวดล้อมราว
สวรรค์สำหรับไวรัสที่จะกระโดดจากสปีชีส์หนึ่งไปยังอีกสปีชีส์หนึ่ง หรือแม้แต่
การล่าสัตว์หรืออาศัยอยู่ใกล้ถ้ำค้างคาว ก็เป็นความเสี่ยงใหญ่หลวงที่จะติดเชื้อ
ไวรัสดังกล่าว ที่ถูกขับถ่ายมาพร้อมมูลของค้างคาว
       
       การทำความเข้าใจจ่อกำเนิดของโรคติดเชื้ออย่างโรคซาร์สนี้จะช่วยให้
นักวิทยาศาสตร์เข้าไปรับมือกับไวรัสก่อโรคในอนาคตก่อนที่มันจะอุบัติขึ้น 
ผ่านความรู้ที่ว่าที่ใดคือแหล่งเพาะเชื้อ และไวรัสในตระกูลใกล้ชิดใดบ้างที่
มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องมากที่สุด แล้วจัดการป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ
       
       ดร.แดสแซกกล่วว่าการค้นหาไวรัสก่อโรคในสัตว์เลี้ยงด้วยนมทั้งหมด
ต้องใช้เงินราว 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่สำคัญที่เรา
จะต้องทำ เพราะเราสามารถผลิตวัคซีน และเตรียมพร้อมชุดทดสอบเพื่อ
ค้นหาระยะแรกของการอุบัติขึ้นของเชื้อก่อโรค แล้วหาทางหยุดไวรัสเหล่านั้น

ภาพและข้อมูลจาก http://board.postjung.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น